บริการทดสอบคุณสมบัติพลาสติก

การทดสอบวัสดุมีความสำคัญอย่างไร ?

     ในทางวิชาการ เราทดสอบสมบัติของวัสดุเพื่อประเมินสมบัติของวัสดุว่าเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่

     ในทางอุตสาหกรรม จำเป็นต้องทดสอบสมบัติของวัสดุ เพื่อควบคุมคุณภาพ และเพื่อเป็นการประกันคุณภาพของวัสดุที่ทำการทดสอบ โดยจำเป็นต้องมีการทดสอบวัสดุอยู่เสมอ เพื่อให้ทราบว่าวัสดุมีสมบัติที่เหมาะสมแก่การใช้งานหรือไม่

     บริษัทเมอร์ริค พอลิเมอร์ จำกัด มีบริการรับทดสอบชิ้นงานพลาสติกทุกประเภทโดยผู้ทดสอบที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในปฏิบัติการทดสอบ ร่วมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย และได้รับการรับรองจากมาตรฐานสากล ISO 9001:2015 ซึ่งการทดสอบที่บริษัทฯ รับบริการ มีดังนี้

1. การทดสอบแรงดึง (Tensile Test) เป็นวิธีทดสอบที่ง่ายและนิยมใช้กันมาก เพราะสามารถบอกถึงสมบัติเชิงกลพื้นฐานของวัสดุได้ เช่นความต้านทานต่อแรงดึง, ความยาวที่สามารถยืดได้สูงสุดก่อนเกิดการขาด, ความเหนียว (Toughness), ความเปราะ (Brittle) โดยผลการทดสอบจะถูกแสดงเป็นกราฟการเปลี่ยนแปลงของวัสดุ ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Stress และ Strain

2. การทดสอบแรงกระแทก (Impact Testing) เป็นวิธีทดสอบเพื่อดูความสามารถในการต้านทานการแตกหักของวัสดุ จากการกระทบกระแทกต่อแรงภายนอก และเพื่อตรวจสอบถึงความบกพร่อง (Defect) ของวัสดุนั้นๆ เช่น การที่เนื้อวัสดุมีการปนเปื้อน, การที่ส่วนประกอบของวัสดุไม่เป็นไปตามที่ต้องการ, การมีฟองอากาศในวัสดุ และการที่เนื้อวัสดุไม่เป็นเนื้อเดียวกัน โดยวัสดุที่มีความเหนียว (Toughness) จะสามารถดูดซับพลังงานไว้ได้ดีกว่าวัสดุที่มีความเปราะ (Brittle)

3. การทดสอบอัตราการไหลของพลาสติก (Melt Flow Index) เป็นวิธีการทดสอบที่แสดงถึงความสามารถในการไหลของ Thermoplastics ประเภท Polyolefins ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมพลาสติก เพื่อเปรียบเทียบเกรดระหว่างพลาสติกชนิดเดียวกัน อีกทั้งยังเป็นตัวแปรที่ใช้บอกอุณหภูมิที่เหมาะสมในการขึ้นรูปพลาสติก ซึ่งการเลือกเกรดพลาสติกที่ไม่เหมาะสมกับกระบวนการขึ้นรูป อาจก่อให้เกิดปัญหาในการขึ้นรูป หรือชิ้นงานมีลักษณะไม่เหมาะสมได้ โดยพลาสติกเกรดที่ใช้สำหรับทำฟิล์มควรจะมีค่า MFI (Melt Flow Index) สูง เพราะมีความหนืดต่ำเมื่อหลอม เนื่องจากมีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ และพลาสติกเกรดที่ใช้สำหรับทำขวดควรจะมีค่า MFI (Melt Flow Index) ต่ำ เพราะมีความหนืดสูงเมื่อหลอม เนื่องจากมีน้ำหนักโมเลกุลสูง

4. การสอบความหนาแน่น (Density) เป็นวิธีการทดสอบเพื่อดูองค์ประกอบของเม็ดพลาสติก ซึ่งสามารถบอกได้ถึงความเป็นผลึก (Crystallinity) และการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ (Physical Change) ของเม็ดพลาสติก โดยพลาสติกที่ใช้ในการทดสอบนี้จะเป็นของแข็ง 

5. การทดสอบการลามไฟ มาตรฐาน UL94V0 เป็นมาตรฐานที่ใช้เพื่อทดสอบความไวไฟของวัสดุพลาสติก สำหรับชิ้นส่วนในอุปกรณ์เครื่องใช้ โดยวัสดุจะต้องผ่านการทดสอบการเผาไหม้ต่างๆ เพื่อดูประสิทธิภาพในสภาวะติดไฟ โดยวิธีการทดสอบการลามไฟ UL94V0 นั้น จะใช้ประเมินทั้งเวลาที่เกิดการเผาไหม้, เวลาหลังการเรืองแสงหลังจากการใช้เปลวไฟซ้ำ ๆ, การหยดของชิ้นงานทดสอบ และการเผาไหม้ในการทดสอบการเผาไหม้ในแนวตั้ง

6. การทดสอบความชื้น (Moistureเป็นการทดสอบที่สำคัญมาก เพราะปริมาณความชื้นจะส่งผลต่อความสามารถในการแปรรูปของวัสดุ โดยถ้าหากค่าความชื้น (Moisture Content) ไม่อยู่ในช่วงที่เหมาะสม ก็จะมีผลต่อคุณภาพในการผลิต ทั้งในเชิงสมบัติทางกายภาพ และคุณภาพของวัสดุ 

7. การทดสอบแรงดัด (Flexural Test) ใช้สำหรับการทดสอบแบบอัตราเร็วคงที่ ซึ่งนิยมใช้ในการทดสอบพลาสติก มักใช้เป็นวิธีประมาณค่าความต้านทานแรงดึงของวัสดุ Flexural strength, Flexural Modulus โดยมาตรฐานที่นิยมใช้ในการทดสอบคือ ASTM D790, ISO178 ซึ่งเป็นมาตรฐานในการทดสอบพลาสติก

8. การทดสอบการแตกร้าวความเครียดจากสิ่งแวดล้อม (ESC) เป็นวิธีการประเมินความต้านทานของพอลิเมอร์ต่อการแตกร้าวของความเครียดจากสิ่งแวดล้อม ภายใต้มาตรฐาน ASTM D1693 

9. การทดสอบสมบัติทางความร้อน

       9.1 การทดสอบอุณหภูมิการคงรูปทางความร้อน (HDT) เป็นการทดสอบความสามารถของพลาสติกเมื่อเจอความร้อน เพื่อดูความนิ่มตัว และดูความแข็งของพลาสติก ภายใต้สภาวะการทดสอบมาตรฐาน เช่น มาตรฐาน ASTM D648

      9.2 อุณหภูมิการอ่อนตัวของพลาสติก (VICAT) เป็นการทดสอบผลกระทบของอุณหภูมิ ต่อสมบัติของพลาสติกในระยะสั้นๆ (Short Term Effects) ที่มีจุดหลอมเหลวไม่แน่นอน เพื่อดูความนิ่มตัวของวัสดุ และอาจใช้ในการบ่งบอกถึงลักษณะเฉพาะของวัสดุได้ เช่น PETG, ABS, Nylon เป็นต้น มาตรฐานการทดสอบ ASTM D 1525 และ ISO 306

       9.3 การทดสอบการเสื่อมสภาพของพอลิเมอร์ด้วยการบ่มความร้อน (Heat aging) เพื่อทดสอบความต้านทานต่อการเกิดออกซิเดชัน หรือการเสื่อมสภาพประเภทอื่นๆที่เกิดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ภายใต้มาตรฐาน ASTM D3045

       9.4 การทดสอบการต้านทานต่อรังสียูวี (UV Weathering Resistance) เป็นการทดสอบความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ และใช้ในการทดสอบที่รวมแสงยูวี, อุณหภูมิ, ความชื้น, ควบแน่น, สเปรย์น้ำ และการควบคุมการฉายรังสี

10. การทดสอบการวัดสีด้วย Color Spectroscopy เป็นเครื่องวัดสีคุณภาพสูง แบบสเปกโตรโฟโตรมิเตอร์ เหมาะกับการวัดสีวัสดุต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบสีของตัวอย่างกับสีมาตรฐานที่กำหนด

11. การทดสอบ Mold shrinkage การหดตัว (Shrinkage) ของพลาสติก ขึ้นอยู่กับรูปร่างลักษณะของผลิตภัณฑ์และชนิดของพลาสติก ที่นำมาใช้ในการฉีด อุณหภูมิที่ใช้ในการหลอม ความเร็วฉีด การรักษาความดันฉีดย้ำ การหล่อเย็นแม่พิมพ์ สภาพแวดล้อม ระหว่างฉีดที่แตกต่างกัน

12. Dehumidified Dryer การฉีดพลาสติกขณะที่เม็ดพลาสติกมีความชื้นอยู่จะส่งผลต่อคุณภาพของชิ้นงาน ซึ่งผลของความชื้นทำให้เกิด การเป็นฟองอากาศในชิ้นงาน การเป็นเส้นยาวตามเส้นทางการไหล หรือความขุ่นของชิ้นงาน ความชื้นที่ผสมอยู่ในเม็ดพลาสติกอาจมาจากความชื้นที่มีอยู่ในเม็ดพลาสติกใหม่ หรือเม็ดพลาสติกที่มาจากการรีไซเคิล  หรือมาจากการที่เราปล่อยให้เม็ดพลาสติกสัมผัสกับอากาศที่มีความชื้นนานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าฝนอากาศจะมีความชื้นสูงมาก  ดังนั้น ก่อนการใช้เม็ดพลาสติกควรจะทำการอบไล่ความชื้นออกก่อนที่จะนำไปใช้งาน 

    นอกจากนี้ เรายังมีบริการรับขึ้นชิ้นงาน Specimen ตามมาตรฐาน ASTM และ ISO ตามความต้องการของลูกค้าอีกด้วย

 

การเตรียมชิ้นงาน Specimen สำคัญอย่างไร ?

     เนื่องจากการทดสอบวัสดุ เป็นแบบสุ่มตัวอย่าง (Sample) ดังนั้นเราจึงสามารถนำตัวอย่างมาทำการทดสอบได้เลย แต่บางครั้งก็ต้องนำตัวอย่างมาขึ้นรูปให้มีลักษณะเฉพาะตามมาตรฐานการทดสอบเสียก่อน ซึ่งเราจะเรียกตัวอย่างที่นำมาขึ้นรูปนั้นว่า "ชิ้นงาน" หรือ "ชิ้นทดสอบ (Specimen)" 

Specimen Dimension

  • Specimen for Heat Distortion Temperature/ชิ้นทดสอบอุณหภูมิการเสียรูปและการอ่อนตัวของพลาสติกเนื่องจากความร้อน
    0.00 ฿
  • Specimen for Color test/ชิ้นทดสอบในการทดสอบสี
    0.00 ฿
  • Specimen for Shrinkage test/ชิ้นทดสอบในการทดสอบการหดตัว
    0.00 ฿
  • Specimen for Flammability/ชิ้นทดสอบในการทดสอบการทนไฟ
    0.00 ฿